หลักการจัดการความรู้

  • เนื้อหาความสำคัญ
  • องค์ความรู้
  • กระบวนการจัดการ
  • รูปแบบความรู้

เนื้อหาความสำคัญในการจัดการเรื่องนี้
       สิ่งแรกที่เราเลือกหัวข้อที่จะจัดการเรื่อง “สุราพื้นบ้าน”เนื่องจากเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากมีให้เห็นกันทั่วไป แล้วสมาชิกในกลุ่ม มีความเห็นตรงกัน ว่าอยากทำหัวข้อ สุราพื้นบ้าน เพื่อที่จะศึกษาขั้นตอนกรรมวิธีขั้นตอนการผลิต จนถึงขั้นตอนการบรรจุขวดติดสแตมป์ และออกวางขายในท้องตลาด จนเป็นสิ้นค้า OTOP ระดับท็อปๆ ของประเทศ 
      ซื่งสุราพื้นบ้านแบ่งได้ออกเป็นหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สาโท เหล้าอุ๊ สุราขาว เหล้าไห หรือเรียกต่างกันไปตามสถานที่ กลุ่มเราจึงเลือกศึกษาขั้นตอนวิธีการทำ สาโท เนื่องจากสามรถแปรรูปเป็น สุราขาวได้ด้วย 
จุดประสงค์
1.เพื่อให้รู้ถึงความเป็นมาของสาโทสุราพื้นบ้าน
2.เพื่อให้ท่านที่สนใจในเรื่องสุราพื้นบ้านรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
3.เพื่อให้รู้ถึงอุปกรณ์และวิธีการผลิตสาโทสุราพื้นบ้าน
4.เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักของดีที่มีมาแต่เดิมของคนอีสาน

ประวัติความเป็นมาของสาโทสุราพื้นบ้าน
      เหล้าสาโทมีความเป็นมาควบคู่มากับบรรพบุรุษและประวัติศาสตร์ของไทย เป็นต้นตำรับสุรายอดข้าวสกุลไทยมาแต่เนิ่นนาน ตราบทุกวันนี้บางครัวเรือนยังคงทำเพื่อใช้สำหรับดื่มกันเอง ซึ่งสาโทเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว(Rice wine) มีรสออกหวาน สาโทผลิตโดยใช้ข้าวเหนียวนึ่ง นำมาล้างเมือก ข้าวออกให้หมด ปล่อยให้แห้งจากนั้นคลุกเคล้าด้วยหัวเชื้อแห้งที่เรียกว่าลูกแป้ง (Lookpang) ซึ่งหัวเชื้อมีส่วนผสมของเชื้อราและยีสต์ โดยเชื้อราทำหน้า ที่ผลิตอะไมเลสมาย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า saccharification ส่วนยีสต์ในลูกแป้งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งให้เป็น เอทิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความรู้เรื่องสาโทสุราพื้นบ้าน
      สาโทเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีรสออกหวาน

วัสดุที่ใช้ทำสาโทสุราพื้นบ้าน
-ลูกแป้ง สมุนไพรสำหรับผสมลงในแป้ง (สมุนไพรนี่แหละ คือสูตรลับของแต่ละคน) 
- แป้งข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าก็ได้ (สมัยก่อน เขาตำ-บดเอา)                                       
กรวย                     ขวด                        ถัง                        
แก๊ส/เตาถ่าน           ถาด                       น้ำตาล
หม้อนึ่งข้าว             ถังหมัก                    ไม้คนข้าว
น้ำ                        รางน้ำ

ขั้นตอนการผลิตสุราพื้นบ้านสาโท 


นำข้าวสารไปแช่น้ำไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด  แล้วนำข้าวไปใส่ไปนึ่งตั้งบนเตาแก๊ส  พอข้าวสุกนำมาใส่ถาดและใช้ไม้พลิกข้าวให้ทั่วผึ่งทิ้งไว้  2 – 3  นาที
จากนั้นก็นำไปใส่ถังหมักพร้อมด้วยใส่ลูกแป้งที่บดอย่างละเอียด  แล้วใส่น้ำให้พอดีกับข้าวคนให้คลุกเคล้าเข้ากัน   พอเสร็จก็ปิดฝาถังหมัก  พอเวลาผ่านไป   5 คืน ก็นำน้ำมาเติมแทนน้ำที่แห้งไปแล้วปิดไว้อีก   5-10 คืนแล้วแต่สภาพอากาศ  รวมเวลาทั้งหมดต้องไม่ต่ำกว่า 10 คืน   ก็นำขึ้นมากรองเอาแต่น้ำมาต้มใส่น้ำตาลพอน้ำตาลละลายแล้วก็ยกลงรอให้เย็น ก็จะได้เป็นผลิตภัณที่ชื่อว่า สาโท

***หากต้องการแปรรูปเป็นสุราขาวก็นำข้าวที่ได้จากการหมักมาแล้ว 10 มาต้มเพื่อกลั่นเอาน้ำสุราขาวที่ทำจากข้าวเหนียว  ส่วนทำจากสาโทกากน้ำกากก็น้ำข้าวที่หมักไว้ไปกลั่นในเครื่องกลั่นแล้วนำมากรองให้เป็นสรุาขาวที่ทำจากน้ำตาล 
ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำเหล้าที่ได้จากการกลั่นไปวัดปริมาณแอลกอร์ฮอล์ให้ตามตามมาตรฐานของรัฐที่ตั้งไว้ แล้วทำไปกรองเพื่อลดสารตะกอนหรือสิ่งตกค้าง  ขั้นตอนสุดท้ายนำไปบรรจุขวดได้เป็นผลิตพื้นบ้านที่ชื่อว่าเหล้าขาว

ประโยชน์ที่ได้จากสาโทสุราพื้นบ้าน
เป็นสุราที่ได้จากการหมักของข้าว ผสมหัวเชื้อยีสต์ และสมุนไพรในลูกแป้งนานาชนิด ควรดื่มวันละนิด พอเป็นยา แต่เมื่อนำไปกลั่นก็จะได้เป็นสุราขาว ควรดื่มแต่ในปริมาณที่พอเหมาะ
ข้อเสนอแนะ 
เด็กและเยาชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์

กลุ่มเป้าหมายในการที่เราได้องค์ความรู้นั้นมา ได้มาจากใคร ที่ไหน อย่างไร
       ในการจัดทำเรื่องสุราพื้นบ้านแน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราจะต้องไปเก็บความรู้มาก็คือ ชาวบ้าน และผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและหน้าเชื่อถือ เราจึงเครื่องมือทางเทคโนโลยีโดยทำการค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตหาแหล่งผลิตสุราพื้นบ้านที่ใกล้ที่สุดเพื่อจะได้ง่ายต่อการเดินทางไปเก็บข้อมูลจากชาวบ้าน และผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ทำสุราพื้นบ้าน ซึ่งเราก็ได้เจอโรงงงานเป็น กลุ่มชุมชน วิสาหกิจของชุมชน ร่วมกันทำเป็นโรงงานเล็กในหมู่บ้านตำบลชุมช้าง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายเรานี้เอง ทางชาวบ้านก็ได้ให้ความรู้ตั้งแต่วิธีการจัดตั้งโรงงาน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการทำ รวมไปถึงการบรรจุขายเลยทีเดียว


ขอขอบคุณ
       ผู้ใหญ่สุวิทย์ ทุ่งส่าง และ คุณอาณัต์ ตั้งสมบูรณ์ กูรูเรื่องสุราพื้นบ้านของเราที่ให้ความรู้ ต่างๆ

โมเดลการจัดการความรู้ ในขั้นการผลิตสาโทพื้นบ้านแบบ Demarest
            1. การสร้างความรู้ (Knowledge Construction)
            2. การเก็บรวบรวมความรู้ (Knowledge Embodiment)
            3. การกระจายความรู้ไปใช้ (Knowledge Dissemination)
            4. การนำความรู้ไปใช้ (Use)
1.การสร้างความรู้ 
      เราสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยวิธีการ ไปศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ และความชำนาญการทำสุราพื้นบ้าน เพื่อ ขาย  และ   ส่งออก

2.การเก็บรวบรวมความรู้ 
      เราได้จัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เรื่องการทำสุราพื้นบ้านออกเป็น 2 รูปแบบ
2.1 รูปแบบที่เป็นไม่ดิจิตอล
               ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสาโทสุราพื้นบ้านได้ถ่อยทอดภูมิปัญญา ความรู้ และ ขั้นตอน การตั้งโรงงาน วัสดุที่ใช้ วีการทำ รวมไปถึงการแปรรูปเพื่อนส่งออกขาย ตามความต้องการของลูกค้าที่สั่งสินค้าเข้ามา ทางทีมงานของเราได้ทำการจดบันทึกขั้นตอนอย่างละเอียดลงในรูปแบบจดบันทึก
         2.2 รูปแบบที่เป็นดิจิตอล
                เราได้จัดเก็บลง สื่อ ต่างๆ เช่น บันทึกวิดีโอ บันทึกเทปเสียงไว้บ้างส่วน ตอนที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำสุราพื้นบ้าน แล้วจัดเก็บข้อมูลความรู้เหล่านี้ลงใน YOUTUBE และเว็บไซต์ความรู้ที่เราจัดทำ เรื่อง สุราพื้นบ้าน "สาโท"

3.การกระจายความรู้การทำสุราขาวพื้นบ้าน
3.1 รูปแบบที่เป็นดิจิตอล
     -เป็นวิดีโอ สอนการทำสาโทพิ้นบ้าน แผยแพร่ต่อสาธารณะในเว็บ youtube     
             -นำเสนอบนโลกออนไลน์ คือเว็บบล็อก

4.การนำความรู้ไปใช้ ผู้ที่สนใจ สามารนำความรู้เรื่อง สุราพื้นบ้าน "สาโท" ไปศึกษาเพื่อเป็นความรู้ หรือจะทำผลิตภัณฑ์ ขึ้นมาทำกินเองภายในครัวเรือนหรือ ทำเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ได้กับครอบครัวหรือชุมชนได้อีกด้วย 




รูปแบบความรู้ในการผลิต "สาโท" โดย Ontopology

One Response so far.

  1. Unknown says:

    ขอถามราคา Hennessy x.o cognac 1.5l ป้าย มาเลเซีย ราคาปรพมานเท่าไหร่ครับ

Leave a Reply